26.1.53

เมืองแม่สะเรียง maesariang Watch

แลแม่สะเรียง
แม่สะเรียง มีชื่อเรียกในประวัติศาสตร์ว่า เมืองยวมใต้ หรือเมืองยวม เคยเป็นที่ตั้งชุมชนมาไม่น้อยกว่า 520 ปี เมืองยวมเคยเป็นถิ่นฐานอาศัยของชนเผ่าดั้งเดิม คือ ละว้า และกระเหรี่ยง ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกชื่อว่า “อำเภอเมืองยวม” โดยอาศัยชื่อของลำน้ำแม่ยวมที่ไหลผ่านอำเภอ นายอำเภอคนแรกชื่อ ขุนชำนาญธนานุรักษ์ (นายสวัสดิ์ ชลัย) ต่อมาทางการได้พิจารณาเห็นว่าชื่อ อำเภอเมืองยวมนั้น ไปพ้องกับอำเภอขุนยวม ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอแม่สะเรียง” ตามชื่อของแม่น้ำแม่สะเรียงที่ไหลผ่านอำเภอีกสายหนึ่งมาจนถึงปัจจุบันนี้
ปัจจุบัน อำเภอแม่สะเรียง ยังเป็นเมืองสำคัญของ 3 อำเภอ ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนตอนใต้เป็นแห่งเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และกระจายสินค้าได้สู่อำเภอต่าง ๆ สามารถส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้โดยเฉพาะที่จุดพักรับรองนักท่องเที่ยวที่จะเป็นทางต่อไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนทางธรรมที่สายงาม ของป่าเขาลำเนาไพร แม่มีน้ำสาละวินอันลือชื่อ สวยงามด้วยทิวทัศนร์แปลกตาไปจากแม่น้ำระหว่างประเทศสายอื่น ๆ ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาแวะเวียนตลอดทั้งปี มีผ้าทอด้วยมือของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงที่มีคุณภาพ มีกล้วยไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะ หอมเย็นชื่นใจ คือ เอื้องแซะ นิยมเป็นของขวัญที่ล้ำค่าแก่บุคคลที่รักและเคารพนับถือ นอกจากนั้นยังมีวัดที่บรรจุพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ 4 แห่ง ได้แก่วัดพระธาตุจอมแจ้ง วัดพระธาตุจอมมอญ วัดพระธาตุจอมทอง และวัดพระธาตุจอมกิตติ บุคคลทั่วไปนิยมไปนมัสการกราบไหว้ตามประเพณี
ทุ่งบัวตอง ดอยแม่เหาะ
ห่างจากอำเภอแม่สะเรียงประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 84 เขตตำบลแม่เหาะ เป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ริมทางในช่วงนี้มีภูมิประเทศที่งดงามของภูเขาและทุ่งดอกบัวตองที่ตระการตาและเบ่งบานสะพรั่งในเดือนตุลาคม - ธันวาคม
น้ำตกแม่สวรรค์น้อย เป็นน้ำตกที่สวยงาม มี7ชั้น เดินชมจากชั้นสูงสุดลงสู่ชั้นล่าง ไก้ลทุ่งบัวตองแม่เหาะ
น้ำพุร้อนแม่อุมลองหลวง เชิญชวนอาบน้ำแร่ แช่น้ำร้อน ไปตามเส้นทางบ้านป่าแป๋-แม่สะเรียง
พระธาตุจอมมอญ
อยู่ที่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านกาด เป็นปูชนียสถานที่มีลักษณะเป็นเจดีย์เก่าแก่ ถือกันว่าเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และมีงานฉลองในเดือนกรกฎาคมของทุกปี

วัดกิตติวงศ์
ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาลแม่สะเรียง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่พระครูกิตตินำมาจากวัดศรีสุพรรณ จังหวัดเชียงใหม่ และยังมีพระคัมภีร์โบราณค้นพบในถ้ำผาแดง ริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน เมื่อ พ.ศ. 2511 จารึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของล้านนากับพม่า
วัดจองสูงหรือวัดอุทยารมณ์
ตั้งอยู่ในตัวอำเภอแม่สะเรียง เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2381 เดิมเป็นสำนักสงฆ์มีเจ้าอาวาสเป็นไทยใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2431 ถูกไฟไหม้ และได้บูรณะขึ้นใหม่เป็นวัดจองสูงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 ภายในวัดมีเจดีย์ทรงมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี อยู่ 3 องค์ เจดีย์องค์ด้านตะวันตกสร้างเมื่อต้นรัชกาลที่ 6 เจดีย์องค์กลางสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏ เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุ ส่วนเจดีย์องค์ด้านตะวันออกเป็นเจดีย์ 7 ยอด
วัดพระธาตุจอมทอง
ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียง 1 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแม่สะเรียง - สบเมย แยกทางซ้ายมือบริเวณสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน วัดนี้มีจุดเด่นที่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่ง ประดิษฐานอยู่บนยอดเขาและบนลานพระพุทธรูปนี้สามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอแม่สะเรียงได้ โดยเฉพาะบรรยากาศยามพระอาทิตย์ตกในช่วงเย็น
งานประเพณีปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้ว เป็นประเพณีบวชเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความเชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้นช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกำหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆ กัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพศรัทธาแต่เดิมปอยส่างลองเป็นประเพณีที่จัดเฉพาะในหมู่ญาติมิตรของเจ้าภาพ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2525 ได้เกิดมีแนวความคิดใหม่โดยจัดเป็นบรรพชาหมู่ร่วมกันมากถึง 200 รูป เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทำให้ในเขตอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนนิยมจัดบรรพชาหมู่สืบต่อมาถึงปัจจุบัน ปอยส่างลองจึงได้กลายเป็นประเพณีที่จูงใจให้มีผู้สนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
งานประเพณีจองพารา
คือประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คำว่า “จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 โดยก่อนถึงวันงานจะมีการจัดงานตลาดนัดออกพรรษามีการนำสินค้าต่างๆ ที่จะใช้ในการทำบุญ เช่น อาหาร ขนม ดอกไม้ เครื่องไทยทานมาวางขายเพื่อให้ชาวบ้านได้หาซื้อข้าวของเครื่องใช้ในการเตรียมงาน และมีการจัดเตรียมสร้าง “จองพารา” ซึ่งเป็นปราสาทจำลอง ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่างๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อใช้สมมติเป็นปราสาทรับเสด็จพระพุทธองค์จากสวรรค์ จากนั้นก็จะยก “จองพารา” ขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัดในวันขึ้น 15 ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษานั้น ตั้งแต่เช้าตรู่ประชาชนพร้อมใจกันไปทำบุญตามวัด บางวัดจัดให้มีการตักบาตรเทโว ส่วนในตอนเย็นจะนำดอกไม้ธูปเทียนและขนมข้าวต้มไปขอขมาบิดามารดาและญาติผู้ใหญ่ก่อนย่ำรุ่งของวันแรม 1 ค่ำ จะมีพิธี “ซอมต่อ” คือการอุทิศเครื่องเซ่นแก่สิ่งที่ชาวไตถือว่ามีบุญคุณในการดำเนินชีวิต โดยนำกระทงอาหารเล็กๆ ที่จุดเทียนติดไว้ด้วยไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ แสงประทีปนับร้อยนับพันดวงตามวัด สถูป และบ้านเรือนในตอนใกล้รุ่งเป็นภาพที่งดงามน่าประทับใจมากตลอดระยะเวลาของการจัดงานตั้งแต่แรม 1 ค่ำไปจนถึงแรม 8 ค่ำ จะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้งและจุดเทียนหรือประทีปโคมไฟไว้ตลอดในช่วงเวลาตลอดเทศกาล จะมีการละเล่นเฉลิมฉลองหลายชนิด เช่น ฟ้อนโต ฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ ฟ้อนก้าแลว (ฟ้อนดาบ)เฮ็ดกวาม ฯลฯ ตามถนนหนทางและบ้านเรือนต่างๆ เป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าสัตว์โลกและสัตว์หิมพานต์พากันรื่นเริงยินดีออกมาร่ายรำเป็นพุทธรูปรับเสด็จก่อนจะถึงวันแรม 8 ค่ำ จะมีพิธี “หลู่เตนเหง” คือ การถวายเทียนพันเล่ม โดยแห่ต้นเทียนไปถวายที่วัด และใน “วันกอยจ้อด” คือวันแรม 8 ค่ำ อันเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลออกพรรษา จะมีพิธี “ถวายไม้เกี๊ยะ” โดยนำฟืนจากไม้เกี๊ยะ (สนภูเขา) มามัดรวมกันเป็นต้นสูงประมาณไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณไม่ต่ำกว่า 30 เซ็นติเมตร แล้วนำเข้าขบวนแห่ประกอบด้วยฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ และเครื่องประโคมไปทำพิธีจุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ลานวัด เป็นอันสิ้นสุดเทศกาลออกพรรษาของชาวไต
ประเพณีลอยกระทง
จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยชาวบ้านจะจัดทำกระทงเล็กๆ ไปลอยตามแม่น้ำ มีการแสดงมหรสพรื่นเริง ตามบ้านเรือนจะมีการจุดประทีปโคมไฟสว่างไสว นอกจากนี้ยังมีการลอยกระทงสวรรค์ โดยนำกระทงที่จุดประทีปโคมไฟลอยขึ้นไปในอากาศ ยังมีศิลปะที่น่าสนใจของชาวไตคือศิลปะการแสดงและดนตรีซึ่งแตกต่างจากของล้านนา และมักจะนำเข้ามาร่วมในงานบุญงานแห่ต่างๆ อยู่เสมอ อาทิ “ฟ้อนกิงกะหล่า” หรือฟ้อนกินรี ซึ่งได้รับความนิยมที่สุด ผู้แสดงจะใส่ปีกใส่หางบินร่ายรำ นอกจากนี้ยังมีการฟ้อนตัวสัตว์ต่างๆ ที่มีความเชื่อว่าอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์ เช่น ฟ้อนนก ฟ้อนผีเสื้อ ฟ้อนม้า เป็นต้น
ฟ้อนโต
เป็นการแสดงที่นิยมกันอีกชุดหนึ่ง ตัวโตนั้นเชื่อกันว่าเป็นสัตว์ป่าในหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีเขาคล้ายกวางและมีขนยาวคล้ายจามรี มีลักษณะร่ายรำคล้ายการเชิดสิงโตของจีนนอกจากนี้ ยังมีการแสดงอื่นๆ อีกหลายชุด ได้แก่ “ฟ้อนดาบ” หรือที่เรียกว่า ฟ้อนก้าแลว “ฟ้อนไต” เป็นการฟ้อนต้อนรับผู้มาเยือน รำหม่อง “ส่วยยี” เป็นการรำออกท่าทางคล้ายพม่า และ “มองเซิง” เป็นการรำประกอบเสียงกลองมองเซิง
งานเทศกาลดอกบัวตอง
จะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี “ดอกบัวตอง” เป็นดอกไม้ป่าสีเหลืองคล้ายดอกทานตะวันแต่ขนาดเล็กกว่า มักขึ้นอยู่ตามป่าเขาสูงทางตอนเหนือของประเทศไทย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีมากที่บริเวณบ้านแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง และดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม เมื่อถึงระยะที่ดอกบัวตองบานตามริมเส้นทางตลอดจนภูเขาที่สลับซับซ้อนกันอยู่นั้นจะเป็นสีเหลืองสว่างไสวไปด้วยสีของดอกบัวตองดูงดงามมาก ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้จัดงานเทศกาลบัวตองบานขึ้นเพื่อเป็นการชมความงามของธรรมชาติ และชมวัฒนธรรมประเพณีของชาวไต และชาวไทยภูเขา โดยจะจัดที่บริเวณอำเภอขุนยวม ในงานมีการละเล่นและมหรสพทั้งของพื้นเมืองและร่วมสมัย มีการประกวดธิดาบัวตอง การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา การแสดงสินค้าพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาชาวดอย ฯลฯ ตลอดจนนิทรรศการต่างๆ และการนำเที่ยวชมดอกบัวตองบนดอยแม่อูคอ
อิ่มทุกเวลา เมื่อมาแม่สะเรียง
ตามความเข้าใจ ของนักท่องเที่ยว ว่าแม่สะเรียงเป็นเพียงเมืองผ่าน มิไช่เมืองพัก มักจะมีจุดมุ่งหมายที่อื่นโดยไม่แวะเที่ยวหรือรับประทานอาหาร ทั้งที่มีสถานที่ท่องเทืยว และที่พักมีบรรยากาศน่าสนใจหลายแห่ง
ซึ่งได้แนะนำไว้ข้างต้นแล้ว ตอนนี้จะขอแนะนำอาหาร เมนูยอดนิยม ของคนแม่สะเรียงและผู้มาเยือน ของ บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง บริการอาหาร ที่พักโฮมสเตย์ และชาสมุนไพรสีทอง
มื้อเช้า เมนูรับทัวร์ 06.00น.ข้าวต้มปลาสาละวิน ปรุงด้วยปลาสดๆร้อนๆ ไม่มีก้าง หรือจะเลือก หมูสับปรุงรส เนื้อไก่ฉีก กุ้งสด ปลาหมึกสด กาแฟ ขนม ชาสีทอง บริการตัวเอง ห้องน้ำสะอาด ที่จอดรถสะดวก
อาหารตามสั่ง อาหารกล่อง คณะทัวร์แจ้งล่วงหน้าจะสะดวก เหมาจ่ายคนละ 60บาท
อาหารกลาววัน สั่งตามเมนูหรือจัดเป็นชุดๆละ6คน อาหาร5-7อย่าง ขนมพื้นบ้านแม่สะเรียง ชาสีทอง มีห้องอาบน้ำบริการ เหมาจ่ายคนละ120-150บาท
อาหารเย็น เมนูยอดนิยมตามสั่ง หรือจัดเป็นชุด อาหาร 5-7อย่าง ขนม-ผลไม้ ชาสีทอง ฟังเพลงจากอดีตนักร้องอาชีพ (ฟังเพลงจากลิ้งก์ข้างต้น) ร่วมสนุกกับลูกค้าที่พักโฮมสเตย์ การเต็นท์พักแรม ลอยโคมไฟ
บ้านยอดตำลึง แม่สะเรียง จัดทำเว็บไซต์แนะนำเมืองแม่สะเรียง สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ไหว้พระทำบุญและการกุศล ข้อมูลปลาสาละวิน นำเสนอแบบเอกชน ข้อมูลจากพื้นที่จริง (ดูจากลิ้งก์ข้างต้น)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น